ความเป็นมาจาก การที่เด็กเล็กต้องถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง เพราะผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน เช้าจรดค่ำ บางคนหลายวันกว่าจะกลับบ้าน เด็กๆ ต้องดูแลตัวเอง ไม่ได้ไปเรียนหนังสือ ครูประทีป และครูมิ่งพร(พี่สาวครูประทีป) ใช้ใต้ถุนบ้านเปิดเป็นสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ในปี 2511 ซึ่งชาวบ้านรู้จัก และเรียนว่า โรงเรียนวันละบาท สามารถเปิดรับเด็กได้ประมาณ 40 50 คนต่อวัน ปัจจุบันสามารถดูแลเด็กได้ 200-250 คนต่อวัน
ปี 2518 ครูประทีป และชาวชุมชนได้โรงเรียนหลังใหม่เป็นอาคารถาวร และพร้อมใจตั้งชื่อว่า อนุบาลดวงประทีป ซึ่งเป็นโครงการแรก และเก่าแก่ที่สุดของมูลนิธิฯ
เมื่อปี 2525 ได้โอนโรงเรียนวันละบาทให้กับกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแล และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา เป็นโรงเรียนขยายโอกาสเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถม ถึงมัธยมต้นกระทั่งทุกวันนี้
นโยบาย
ให้การศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ผู้ปกครองในชุมชนแออัดคลองเตย และใกล้เคียง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองขณะที่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน
2.เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน
3.เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้ปกครองในการสร้างความรู้ ความเข้าใจการเรียนในระดับก่อนวัยเรียน
4.เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
พื้นที่การทำงาน ชุมชนแออัดคลองเตย
กลุ่มเป้าหมาย เด็กก่อนวัยเรียนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตย และใกล้เคียง มีอายุระหว่าง 2.6 ถึง 6 ปี ในแต่ละปีสามารถรับดูแลเด็กได้จำนวน 250 คน
กิจกรรมด้านพัฒนา นำระบบการเรียนการสอนแบบ "มอนเตสซอริ" มาใช้สอนในอนุบาลดวงประทีป และเสริมด้วยการสอนภาษาอังกฤษ โดยอาสาสมัครต่างชาติ
1.กิจกรรมจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กให้พร้อมก่อนวัยเรียน
2.กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ตรง เช่น กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ
3.กิจกรรมพัฒนากลุ่มผู้ปกครองโครงการจัดอบรมสัมมนา
4.กิจกรรมพัฒนาบุคลากร โดยการส่งเสริมด้านการศึกษา ดูงาน
เครือข่าย ศูนย์เด็กในชุมชนแออัด ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสุวรรณประสิทธิ์ 1 (รัชดา-บึงกุ่ม),ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กล๊อค 1-3, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพัฒนาใหม่ เป็นต้น
สถิติ ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในความดูแลจำนวน 230 คน
ปัญหาที่พบ1. เด็กจำนวน 118 คน มีฐานยากจน 51.30 %
2. เด็กขาดสารอาหาร ,เด็กมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน
3. ครอบครัวแตกแยก 89 คน 38.40% กว่าปกติ 55 คน 23.91%
แนวทางการแก้ไขปัญหา1.ลงเยี่ยมบ้าน พูดคุยให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น เครื่องสาธารณูปโภค, ทุนการศึกษา, อาหารกลางวัน เป็นต้น
2.ดูแลด้านอาหารกลางวันสำหรับเด็กที่มีปัญหาอย่างใกล้ชิด
3.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง
ความต้องการในการสนับสนุนโครงการได้แก่1.ทุนการศึกษาโดยผ่านโครงการทุนการศึกษา
2.อุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น สีเทียน ของเล่นเสริมทักษะ
3.เลี้ยงอาหารกลางวันเด็ก หัวละ 20 บาท/มื้อ
ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางสาวสุรางคณา อุทาภักดี



