ความเป็นมา
ปัญหาหนึ่งของชุมชนแออัดคลองเตยก็คือ การเกิดอัคคีภัย ซึ่งมีสาเหตุต่างๆ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ความประมาท หรือแม้นหาสาเหตุไม่ได้ โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดขึ้นปีละ 5-6 ครั้ง ในปี 2533 มูลนิธิดวงประทีปร่วมกับผู้นำชุมชนจัดตั้งโครงการ คลองเตยต้านไฟ โดยมีอาสาสมัครหมุนเวียนเปลี่ยนเข้าเวรยามระมัดระวังการเกิดอัคคีภัย ในปี 2537 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บรรเทาสาธารภัยคลองเตย โดยมูลนิธิฯ เป็นแกนในการประสานชุมชน
นโยบาย ส่งเสริมให้ความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการป้องกัน และแก้ไขอัคคีภัย
วัตถุประสงค์
1. เฝ้าระวังเหตุในชุมชนคลองเตยตลอด 24 ชั่วโมง
2. ดับเพลิง
3. อบรมให้ความรู้ เผยแพร่แก่อาสาสมัครในเรื่องการป้องกัน และดับเพลิง
4. ส่งเสริมกิจกรรมชุมชน
5. ประสานงานหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่าย
พื้นที่การทำงาน ชุมชนในเขตคลองเตย 11 ชุมชน
กิจกรรมด้านพัฒนา ไม่เพียงดูแลป้องกันอัคคีภัย ยังรวมถึงการช่วยเหลือในด้านอุทกภัย วาตภัย หรือแม้กระทั่งอุบัติ อีกทั้งการอบรมให้ความรู้กับอาสาสมัครของศูนย์ และผู้สนใจด้วย
เครือข่าย หน่วยบรรเทาชุมชนวัดคลองเตยใน , ชุมชนล๊อค 1-3, ชุมชนล๊อค 4-6, ชุมชนพัฒนาใหม่,ชุมชนโรงหมู,ชุมชนหลังคาร์ฟู,ชุมชนเจริญสุข,ชุมชนแสนสุข,ขุมชนแสนสบาย,ชุมชนร่มเกล้า,ชุมชนเทพประทาน
สถิติ เฉลี่ยกรุงเทพจะเกิดอัคคีภัยประมาณ 100 กว่าราย/ปี ปัจจุบันมีอาสาสมัคร 300 คน
ปัญหาอุปสรรค
1. ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง
2. ขาดแคลนอุปกรณ์ เนื่องจากมีราคาสูง
3. ขาดงบประมาณในการทำกิจกรรมต่อเนื่อง
แนวทางการแก้ไขปัญหา รัฐควรให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณ และการให้ความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ความต้องการในการสนับสนุนโครงการได้แก่
1. สนับสนุนอุปกรณ์ดับเพลิง
2. งบประมาณในการจัดค่ายอบรมเด็ก เยาวชนต้านไฟ และต้านยาเสพติด
3. งบประมาณในการอบรมชาวชุมชนในเรื่อง การดับเพลิงขั้นพื้นฐาน
ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ นายสัญชัย ยำสัน |
|
วันที่ : 27/02/2566
|
|