Loading...


โครงการเยาวชนหญิงสู่ชีวิตใหม่ ศูนย์กาญจนบุรี มูลนิธิดวงประทีป ปี 2539 ถึง ปัจจุบัน

ความเป็นมา

          จากความสำเร็จในการช่วยเหลือเยาวชนชาย กอรปกับสภาพปัญหาของเยาวชนหญิงที่มีการติดยาเสพติดเริ่มมีมากขึ้น นอกจากปัญหาการติดยาเสพติดแล้ว เยาวชนหญิงยังพบปัญหาที่ที่รุนแรงซับซ้อนมากกว่าเยาวชนชาย เช่น การถูกละเมิดทางเพศจากคนใกล้ชิด หรือการถูกบังคับให้ค้าประเวณี เป็นต้น โครงการนี้เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2539 ที่จังหวัดกาญจนบุรี  ปีแรกมีเด็ก และเยาวชนหญิงในโครงการ 32 คน  ต่อมาปรับเป็นบ้านดูแลฟื้นฟูเด็กและเยาวชน โดยรับดูแลเด็ก-เยาวชนหญิงอายุ 6 – 25 ปี  เด็กชายอายุ 6-13 ปี ที่ประสบปัญหา อาทิ การใช้ความรุนแรง ล่วงละเมิด เลี้ยงดูไม่เหมาะสม เสื่องต่อเรื่องยาเสพติด เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เร่ร่อน  ยากไร้ ไม่มีผู้ดูแล ฯลฯ

 

นโยบาย 

          ฟื้นฟูสภาพทั้งกาย ใจ และส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน


วัตถุประสงค์

          1.เพื่อฟื้นฟูเด็กและเยาวชนโดยวิถีธรรมชาติ

          2.เพื่อช่วยเหลือเด็ก และเยาวชนที่ประสบปัญหาต่างๆ อาทิ ถูกทารุณกรรม ถูกละเมิดทางเพศ เร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ฯลฯ

          3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและมีทักษะอาชีพตามศักยภาพ

          4.พัฒนาจิตใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความพร้อมกลับสู่ครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข


พื้นที่การทำงาน

          เลขที่ 39 ม. 6 บ้านทุ่งศาลา ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


กลุ่มเป้าหมาย 

          เด็กเล็กชาย อายุ 6-13 ปี (ที่เป็นพี่น้องกับเด็กหญิง) และ เยาวชนหญิง อายุ 6-25 ปี


การดำเนินงาน 

          1. ให้ที่พักพิงดูแลฟื้นฟูสภาพกาย-ใจแก่เด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมฟื้นฟูต่างๆ และพบจิตแพทย์ในกรณีมีปัญหาทางจิตใจหรือทางร่างกาย

          2. ส่งเด็กและเยาวชนเข้ารับการศึกษาในระบบตั้งแต่ระดับประถมศึกษา-อุดมศึกษา

          3. กิจกรรมฝึกทักษะอาชีพ เช่น หัตถกรรม เกษตร การประกอบอาหาร เบเกอรี่ เป็นต้น


เครือข่าย 

          โรงเรียนบ้านเก่าวิทยา

 

สถิติ 

          ในช่วงแรกให้เรียนประถม 14 คน   


ท่านสามารถสนับสนุนโครงการนี้โดย 

          สนับสนุนกองทุนรวมเพื่อชีวิตใหม่ แบ่งเป็น (อยู่ในระหว่างปรับปรุงแก้ไข)

                 1.เพื่อพัฒนาเด็ก จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาเด็ก ทุนละ 17,000 บาท/ปี/คน

                 2. เพื่อสงเคราะห์เด็กพิเศษ ที่ต้องการได้รับการบำบัดเป็นกรณีพิเศษ 5,000 บาท/ปี/คน

                 3. เพื่อค่ายังชีพ เป็นทุนสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเด็ก 164,250 บาท/ปี/คน

                 4. เพื่อค่าอาหาร 104,200 บาท/ปี/คน


ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางกิตติ์ระวี นิลจันทร์ศิริ

วันที่ : 27/06/2566


โพสโดย : Admin  | 08 มิ.ย. 2566  | เข้าชม : 833  ครั้ง